ThanachartCSRThanachartCSR
ThanachartCSR
ThanachartCSR
  • หน้าแรก
  • พันธกิจ
  • กิจกรรมเพื่อสังคมกลุ่มธนชาต
    • ธนชาต ริเริ่ม…เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย
    • Rethink คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข
    • พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
      • ประวัติความเป็นมา
      • ความหมาย
      • รูปภาพกิจกรรม
    • โครงการสะพานบุญ
      • ความเป็นมา
      • ประวัติโครงการ
      • องค์กรที่ร่วมโครงการ
    • งานกาชาด
      • ประวัติความเป็นมา
      • ข่าวสาร
      • รูปภาพกิจกรรม
    • ปฏิทินธนชาต
  • ข่าวและบทความ
  • ติดต่อเรา
Menu back  

ออมเงินกับ กอช.

December 14, 2015รู้จักเก็บ รู้จักลงทุนBy Thanachart CSR

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาประเทศไทยเราพึ่งจะมีการผลักดันให้เกิด “กองทุนการออมแห่งชาติ” หรือ กอช. ซึ่งเป็นสวัสดิการทางสังคมอีกรูปแบบหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยให้ประชาชนสามารถมีชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ

เนื่องจากที่ผ่านมาสวัสดิการสำหรับประชาชนในวัยเกษียณยังไม่มีความครอบคลุม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือไม่ได้ทำงานอยู่ในระบบเหมือนกับข้าราชการ รวมถึงพนักงานบริษัททั่วไป

                กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. จึงถูกก่อตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกและเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสภาพหรือเมื่อเกษียณอายุแล้ว ช่วยให้กลุ่มคนที่ยังไม่มีสวัสดิการรองรับมีโอกาสเตรียมตัวสำหรับวัยเกษียณ

  อีกทางหนึ่งก็เป็นการลดภาระของภาครัฐที่จะต้องรับผิดชอบท่ามกลางสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเป็นสังคมชราภาพ หรือ Aging Society ทำให้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าคนวัยทำงานและหนุ่มสาว และด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่พัฒนาก้าวหน้าก็ทำให้ประชากรมีแนวโน้มที่จะอายุยืนมากขึ้น การเตรียมตัวเพื่อวัยเกษียณจึงเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกคนต้องตระหนักและต้องเตรียมความพร้อม

                สำหรับผู้ที่มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. จะต้องมีสัญชาติไทย อายุระหว่าง 15-60 ปี และในปีแรกที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ได้ให้สิทธิผู้สมัครที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีสิทธิออมกับกองทุนต่อไปได้อีก 10 ปีนับจากวันที่เป็นสมาชิก รวมถึงผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ก็สามารถสมัครและเป็นสมาชิกต่อไปได้อีก 10 ปีด้วยเช่นกัน

                ทั้งนี้ผู้ที่มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. จะต้องไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง นั่นคือจะต้องไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชน ยกตัวอย่างของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิก ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างชั่วคราวของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เข้าประกันสังคม นักเรียน นักศึกษา เป็นต้น

                โดยในการสมัครเป็นสมาชิกก็จะต้องเริ่มส่งเงินสะสมงวดแรกพร้อมกับการสมัคร และหลังจากนั้นจะต้องส่งเงินสะสมไม่น้อยกว่าครั้งละ 50 บาท และรวมกันแล้วไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี อีกทั้งไม่จำเป็นต้องส่งเงินสะสมทุกเดือน และจำนวนก็ไม่ต้องเท่ากันทุกเดือนก็ได้  นอกจากนี้หากปีใดสมาชิกไม่สามารถนำส่งเงินสะสมได้ กอช. ก็จะยังคงสิทธืความเป็นสมาชิกและคงบัญชีรายบุคคลไว้

  เมื่อมีการส่งเงินสะสมรัฐบาลก็จะจ่ายเงินสมทบให้ภายในสิ้นเดือนถัดไป โดยเงินสมทบที่รัฐจ่ายให้แต่ละงวดนั้นจะสัมพันธ์กับอายุของสมาชิกในขณะที่ส่งเงินสะสม และได้กำหนดเพดานการสมทบเงินสูงสุดในแต่ละปีไว้ด้วย เพื่อไม่ให้เป็นภาระทางการคลังมากจนเกินไป อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะมีการทบทวนเพดานเงินสะสมและเงินสมทบทุก 5 ปี

เพดานการสมทบเงิน

อายุของสมาชิกขณะส่งเงินสะสม

เงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายให้

เพดานเงินสมทบจากรัฐบาล*

ตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี

50% ของเงินสะสม

ไม่เกิน 600 บาทต่อปี

มากกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี

80% ของเงินสะสม

ไม่เกิน 960 บาทต่อปี

มากกว่า 50 ปีขึ้นไป

100% ของเงินสะสม

ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี

อธิบายมาถึงตรงนี้อาจจะเริ่มอยากทราบแล้วว่า หากเป็นสมาชิก กอช. เมื่อเราเกษียณแล้วจะได้รับบำนาญอย่างไร คำตอบก็คือ เมื่อสมาชิกอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และยอดเงินในบัญชี กอช. มีจำนวนมากพอ เราก็จะได้รับบำนาญรายเดือนไปตลอดชีพ โดยกอช.จะจ่ายให้จำนวนเท่ากันทุกๆ เดือน ทั้งนี้หากเงินในบัญชีรายบุคคลของสมาชิกหมดลง กอช.ก็จะใช้เงินกองกลางจ่ายบำนาญให้แก่สมาชิกต่อเนื่องจนตลอดชีวิต อีกทั้งเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว สมาชิกยังคงมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามในการออมเงินของสมาชิก ถ้าเงินสะสมรวมกับเงินที่รัฐสมทบให้และดอกผลจากการลงทุนของกองทุน มีจำนวนค่อนข้างน้อย ซึ่งหารเฉลี่ยตามสูตรการคำนวณบำนาญของ กอช. แล้วเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เช่น 600 บาทต่อเดือน กอช.จะจ่ายเป็น “เงินดำรงชีพ” เท่าๆ กันทุกเดือนจนกว่าเงินในบัญชีจะหมดลง ยกตัวอย่าง นายสุข อายุ 60 ปี มีเงินในบัญชี กอช.จำนวน 6,000 บาท ถ้าคำนวณเป็นบำนาญจะได้เงินประมาณ 30 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 600 บาท ดังนั้นสมาชิกจะไม่ได้รับเงินบำนาญ แต่จะเป็นเงินดำรงชีพแทนเดือนละ 600 บาท เป็นระยะเวลา 10 เดือน

                ในแง่ของนโยบายการลงทุนของกองทุนการออมแห่งชาติ ได้มีการกำหนดนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่า 60% ของเงินกองทุน นอกจากนี้จะมีคณะอนุกรรมการการลงทุนคอยให้คำปรึกษาต่อคณะกรรมการกองทุน โดยรัฐจะค้ำประกันผลตอบแทนของสมาชิกให้ได้รับโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน

หัวใจสำคัญของ กอช.คือ การเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้สมาชิกผู้ที่ไม่มีสวัสดิการส่วนอื่นๆ รองรับ ได้มีโอกาสออมเงินไว้เพื่อยามเกษียณ ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าฝากเงินบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปก็น่าจะเพียงพอ แต่ข้อดีของ กอช.อยู่ตรงที่นอกจากเงินสะสมของเราเองแล้วยังมีส่วนที่รัฐสมทบให้เพิ่ม รวมถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนอีกด้วย

การเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตวัยเกษียณหลายคนมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้วหากเราต้องการใช้ชีวิตอย่างเกษียณสุข การเตรียมพร้อมไว้เร็วเท่าไรยิ่งส่งผลดีเท่านั้น เพื่อให้บั้นปลายชีวิตเป็นช่วงเวลาที่เราสามารถอยู่ได้อย่างสงบสุขและไม่ขัดสนทางการเงินอีกด้วย

 

Back to Rethink

About the author

Thanachart CSR

Related posts
<font color='orange'>Rethink: </font> ลงทุนให้ถูกที่ได้ประหยัดภาษีเป็นแต้มต่อ
May 30, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> รู้จักกองทุนรวมประเภทต่างๆ
May 23, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> ลงทุนอย่างไรให้ชีวีมีสุข
May 19, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> เปิดคัมภีร์การลงทุนด้วยกลยุทธ์ DCA
February 15, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> เคล็ดลับลงทุนให้ประสบความสำเร็จ
January 11, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> เงินออมระยะยาวของเราอยู่ตรงไหนบ้าง?
January 4, 2016

© 2558 สงวนลิขสิทธิ์ โดย ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)