ThanachartCSRThanachartCSR
ThanachartCSR
ThanachartCSR
  • หน้าแรก
  • พันธกิจ
  • กิจกรรมเพื่อสังคมกลุ่มธนชาต
    • ธนชาต ริเริ่ม…เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย
    • Rethink คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข
    • พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
      • ประวัติความเป็นมา
      • ความหมาย
      • รูปภาพกิจกรรม
    • โครงการสะพานบุญ
      • ความเป็นมา
      • ประวัติโครงการ
      • องค์กรที่ร่วมโครงการ
    • งานกาชาด
      • ประวัติความเป็นมา
      • ข่าวสาร
      • รูปภาพกิจกรรม
    • ปฏิทินธนชาต
  • ข่าวและบทความ
  • ติดต่อเรา
Menu back  

หลักการ 3 ขั้นบริหารค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง

February 1, 2016รู้จักใช้เงินBy Thanachart CSR

ค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน หลายๆครั้งก็เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดเป็นประจำปกติ แต่บางทีก็เกิดขึ้นโดยที่เราไม่อาจคาดหมายเตรียมตัวไว้

ได้ทั้งการเจ็บป่วย โรคภัยไข้เจ็บ เราจึงต้องคิดวางแผนการเงินให้ดีเพื่อการใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นและเพื่ออนาคตข้างหน้า

ต่อไปนี้คือหลักการ 3 ขั้นสู่การบริหารค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

  1. รายรับต้องมากกว่ารายจ่าย

ข้อนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุด เพราะการที่เราทำให้รายรับมีมากกว่ารายจ่ายเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าคุณจะมีเงินเก็บออมที่มากขึ้นเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินหรือวางแผนเพื่ออนาคต โดยเราสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

  • เพิ่มรายได้ เช่น ทำอาชีพเสริม, หางาน Part-time, ลงทุนในสินทรัพย์ เป็นต้น
  • ลดรายจ่าย เช่น ไม่กินของแพง, ซื้อของตอนลดราคา, ไม่ซื้อของฟุ่มเฟือย เป็นต้น

แต่ถ้าที่ดีแล้วควรทำให้ได้ทั้งสองแนวทางทั้งเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายจะดีที่สุดครับ

  1. เริ่มวางแผนทางการเงิน

นอกจากการทำงานหารายได้มาแล้ว หลายๆคนมักมองข้ามการฝึกวางแผนด้านการเงินซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่น้อยเหมือนกัน เพราะจะได้นำเงินไปจัดสรรปันส่วนไปใช้ได้อย่างถูกต้องตามที่วางแผนเอาไว้ โดยเราควรแบ่งมาเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ

  • ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน : ค่าใช้จ่ายจิปาถะที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันทั้งค่าอาหารการกิน, ค่าที่พัก, ค่าเดินทาง
  • การลงทุน : เป็นการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆเพื่อสร้างผลตอบแทนกลับมาในอนาคต ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเรียกว่า “ให้เงินทำงานแทนตัวเรา”  เช่น ซื้อกองทุน, ทองคำ, หุ้น, อสังหา
  • เงินออม : สำหรับสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็น อาทิ ค่ารักษาพยาบาล เกิดอุบัติเหตุ

เมื่อแบ่งได้แล้วควรให้น้ำหนักสัดส่วนตามการวางแผนและระดับการรับความเสี่ยงของแต่ละคน เช่น ค่าใช้จ่ายประวัน 60% / ลงทุน 20% / ออมเงิน 20% (สามารถเพิ่มหรือลดได้ตามแต่เหมาะสม)

  1. เรียงลำดับความสำคัญ

สำรวจตัวเองว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรามีอะไรบ้างและค่าใช้จ่ายอยู่ที่เท่าไร โดยควรเรียงลำดับความสำคัญให้ถูกต้องจากมากไปหาน้อยเผื่อเป็นการบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งควรมาดูถึงความเหมาะสมว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเป็นอันดับแรกๆและสิ่งไหนไม่จำเป็นก็ควรตัดทิ้งเผื่อลดรายจ่ายที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป

หากทำตามทั้งหมดแล้วให้ลองวัดผลดูว่าหลักจากที่เราเริ่มวางแผนทางการเงินดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากเรามีระเบียบและเคร่งครัดในการทำตามสิ่งที่วางแผนไว้แล้ว ผลลัพธ์ก็จะเป็นไปตามที่คุณคาดหวังเช่นกันครับ

 

Back to Rethink

About the author

Thanachart CSR

Related posts
<font color='orange'>Rethink: </font> 7 วิธีประหยัดค่าใช้จ่าย ที่คุณเองก็ทำได้!!!
March 14, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> จ่ายเงินเพื่อ “ความรู้” ดีกว่า “เสียรู้” ในวันหน้า
March 7, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> ใช้จ่ายดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
February 29, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> ใช้จ่ายอย่างไร ให้มีเงินเหลือเต็มกระเป๋า
February 22, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> รวมเคล็ด (ไม่) ลับวางแผนจองตั๋วเครื่องบินถูก ทำอย่างไร?
February 15, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> เมื่ออิสรภาพทางการเงิน ไม่ใช่แค่การเพิ่ม “รายได้”
January 25, 2016

© 2558 สงวนลิขสิทธิ์ โดย ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)