ThanachartCSRThanachartCSR
ThanachartCSR
ThanachartCSR
  • หน้าแรก
  • พันธกิจ
  • กิจกรรมเพื่อสังคมกลุ่มธนชาต
    • ธนชาต ริเริ่ม…เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย
    • Rethink คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข
    • พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
      • ประวัติความเป็นมา
      • ความหมาย
      • รูปภาพกิจกรรม
    • โครงการสะพานบุญ
      • ความเป็นมา
      • ประวัติโครงการ
      • องค์กรที่ร่วมโครงการ
    • งานกาชาด
      • ประวัติความเป็นมา
      • ข่าวสาร
      • รูปภาพกิจกรรม
    • ปฏิทินธนชาต
  • ข่าวและบทความ
  • ติดต่อเรา
Menu back  

ไม่ใช้จ่ายเงินเกินตัว

September 12, 2015รู้จักใช้เงินBy Thanachart CSR

ทุกวันนี้รอบตัวเรามักมีสิ่งล่อตาล่อใจรายล้อมอยู่เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นกระแสการใช้ของฟุ่มเฟือย สินค้าแบรนด์เนม แฟชั่นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ร้านอาหารที่มีบรรยากาศเลิศหรู ที่พักตากอากาศสุดโรแมนติก


สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งการบริการที่เพิ่มขึ้นและคุณภาพที่สูงตามมา มักต้องแลกไปกับการที่ต้องจ่ายเงินในราคาที่เพิ่มมากขึ้นไปตามๆกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนที่มีรายได้มาก มักไม่ค่อยมีปัญหากับค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านี้ แต่ในทางกลับกันคนที่มีรายได้น้อย แต่กลับใช้จ่ายเยอะ ค่อนข้างน่าเป็นห่วง

ส่วนใหญ่แล้วคนเหล่านี้มักจะไม่คำนึงถึงการเก็บออม หามาได้เท่าไหร่ ใช้อย่างเดียว เงินเดือนชนเดือน มีเท่าไหร่ซื้อความสุขให้กับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ใช้เงินเกินพอดีหรือเกินกว่ารายรับของตนเอง ทำให้ต้องไปกู้หนี้ยืมสินจากคนอื่น ติดหนี้บัตรเครดิตกันเป็นประจำหรือที่เรียกง่ายๆว่าหมุนเงินนั้นเอง ซึ่งแน่นอนว่าเงินที่หามาได้เท่าไหร่ ก็ต้องหมดไปกับการใช้หนี้ ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นคือชำระคืนได้แค่ดอกเบี้ยแต่เงินต้นยังไม่ลดลงแม้แต่น้อย เห็นอย่างนี้แล้ว อนาคตคงไม่มีวันลืมตาอ้าปากเป็นอิสระได้อย่างแน่นอน

โดยในปัจจุบัน มักมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งการกระทำของคนส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากอารมณ์และความกังวลในเรื่อง “หน้าตาในสังคม” กลัวคนอื่นจะดูถูกหรือไม่อยากคบค้าด้วย เพราะกลัวไม่มีสิ่งของที่ทัดเทียมกับเขา และ “ความไม่รู้จักพอ” ของตัวเราที่อยากได้ อยากมีเหมือนคนอื่นเขา แต่ลืมดูฐานะและความเหมาะสมของตนเอง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เราสามารถใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมก็สามารถดูดีได้เหมือนกัน

ท้ายนี้เรามีคำแนะนำว่าขอให้เก็บเงินออมสำรองไว้พร้อมใช้จ่ายอย่างน้อย 6 เดือน เผื่อไว้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือยามที่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและคอยหมั่นแก้ไขปฏิบัติตนตามด้านล่างนี้

  • ใช้จ่ายเงินเท่าที่จำเป็น เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตจากที่ฟุ่มเฟือย ให้ใช้จ่ายเงินแบบรู้คุณค่า
  • ฝึกควบคุมจิตใจและอารมณ์ความรู้สึก ลดการยึดติดในวัตถุสิ่งของ หันมามองที่คุณค่าของมัน
  • มองหางานเสริมหรือช่องทางการหารายได้เพิ่ม เพื่อจะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น
  • ควรบริหารวางแผนทางการเงินให้ถูกต้องรอบคอบ ทั้งในระยะสั้น-กลาง-ยาว โดยเริ่มต้นจากการเรียงลำดับความสำคัญของการใช้จ่าย จดบันทึกอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้รู้จุดที่ควรแก้ไขให้ถูกต้องและใช้จ่ายเงินอย่างเป็นระเบียบ

 

ฝึกทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้สม่ำเสมอ

รู้หรือไม่ว่า การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเงินในแต่ละวัน เปรียบเสมือนเป็นการวางแผนการใช้จ่ายให้ถูกวิธี ช่วยบ่มเพาะนิสัยฝึกให้เรามีระเบียบวินัยในการใช้จ่ายเงินให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เรารู้ถึงแหล่งที่มาของรายได้ (รายรับ) ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆที่ไม่จำเป็น (รายจ่าย) ซึ่งจะทำให้เราควบคุมและบริหารจัดการเงินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเราสามารถแบ่งประเภทและความหมายของ “รายรับ” และ “รายจ่าย” ได้ดังนี้

รายรับ คือ สิ่งที่บ่งบอกช่องทางการได้มาของเงินว่ามาจากทางใดบ้าง

  • รายรับหลัก = ค่าแรงหรือเงินเดือนที่ได้รับในแต่ละเดือนอย่างสม่ำเสมอ
  • รายรับเสริม = รายได้ที่เพิ่มเติมจากช่องทางหลัก เช่น การลงทุน, อาชีพเสริม, งาน part-time เป็นต้น

รายจ่าย คือ รายการๆจ่ายเงินในแต่ละครั้งของตัวเรา ว่ามีอะไรบ้าง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

  • รายจ่ายหลัก = ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในจำนวนคงที่หรือสม่ำเสมอเป็นประจำ เช่น ค่าดาวน์บ้าน, ค่าผ่อนรถ, ค่าเช่าห้องพัก เป็นต้น
  • รายจ่ายแปรผัน = ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง และมีจำนวนไม่เท่ากันสม่ำเสมอ เช่น ค่าช้อปปิ้ง, เดินทางท่องเที่ยว, ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

หลายๆคนอาจจะมองข้ามหรือละเลยในการทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่ลำบากและยุ่งยาก อุตส่าห์ทำงานหาเงินมาทั้งวันแล้วยังต้องมานั่งจดนั่งเขียนแบบนี้อยู่อีกเหรอ?

อันที่จริงแล้วการทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายนั้นมีประโยชน์อย่างมาก อาทิ

  • ช่วยบันทึกการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นแต่ละวัน
  • ทำให้รู้ว่าสิ่งไหนควรประหยัดและสิ่งไหนที่ใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
  • ฝึกให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น
  • ฝึกการวางแผนการใช้เงินและพัฒนาการทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
  • สามารถบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

หากได้ลองทำแล้ว จะทำให้เรารู้ถึงรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือน ว่ามีช่องทางหาเงินจากทางไหนบ้างเพียงพอหรือไม่ ช่วยให้สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ทำให้มีเงินเหลือเก็บออมมากยิ่งขึ้น เช่น ค่ากาแฟ, ค่างานเลี้ยงสังสรรค์,และค่าชอปปิ้งของที่ไม่จำเป็น ซึ่งสิ่งของบางอย่างนั้น ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ บางทีซื้อมายังไม่อาจจะใช้ประโยชน์อะไรได้มากนัก เพียงแต่ซื้อมาเพราะตอบสนองอารมณ์ความอยากก็แค่นั้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เงินทองรั่วไหลเก็บออมไว้ไม่ได้นั้นเอง

Back to Rethink

About the author

Thanachart CSR

Related posts
<font color='orange'>Rethink: </font> 7 วิธีประหยัดค่าใช้จ่าย ที่คุณเองก็ทำได้!!!
March 14, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> จ่ายเงินเพื่อ “ความรู้” ดีกว่า “เสียรู้” ในวันหน้า
March 7, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> ใช้จ่ายดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
February 29, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> ใช้จ่ายอย่างไร ให้มีเงินเหลือเต็มกระเป๋า
February 22, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> รวมเคล็ด (ไม่) ลับวางแผนจองตั๋วเครื่องบินถูก ทำอย่างไร?
February 15, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> หลักการ 3 ขั้นบริหารค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง
February 1, 2016

© 2558 สงวนลิขสิทธิ์ โดย ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)