ThanachartCSRThanachartCSR
ThanachartCSR
ThanachartCSR
  • หน้าแรก
  • พันธกิจ
  • กิจกรรมเพื่อสังคมกลุ่มธนชาต
    • ธนชาต ริเริ่ม…เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย
    • Rethink คิดใหม่ ใช้เงินเป็น เห็นความสุข
    • พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
      • ประวัติความเป็นมา
      • ความหมาย
      • รูปภาพกิจกรรม
    • โครงการสะพานบุญ
      • ความเป็นมา
      • ประวัติโครงการ
      • องค์กรที่ร่วมโครงการ
    • งานกาชาด
      • ประวัติความเป็นมา
      • ข่าวสาร
      • รูปภาพกิจกรรม
    • ปฏิทินธนชาต
  • ข่าวและบทความ
  • ติดต่อเรา
Menu back  

รู้จัก “เครดิตบูโร”

September 12, 2015รู้จักกู้By Thanachart CSR

ก่อนที่จะเริ่มต้นชีวิตลูกหนี้หน่วยงานสำคัญที่เราควรจะทำความรู้จักเพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบและบทบาทหน้าที่ คือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ “เครดิตบูโร (Credit Bureau)”

rethink-credit-bureau

ได้ยินชื่อนี้หลายคนอาจจะมองไปในเชิงอคติและเข้าใจผิดบางประการ  เพราะแท้จริงแล้วเครดิตบูโรมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลเครดิตจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก แล้วนำมาประมวลผลเป็นข้อมูลเครดิตของเจ้าของข้อมูลแต่ละราย เมื่อสถาบันการเงินหรือเจ้าของข้อมูลต้องการเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตจึงจะสามารถเปิดเผยได้ในรูปแบบของรายงานข้อมูลเครดิต (Credit Report) ซึ่งเครดิตบูโรไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจให้สินเชื่อ หรือขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) ตามที่คนทั่วไปเรียกว่า “ติดเครดิตบูโร” เพราะธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ จะเป็นผู้พิจารณาเองว่าจะให้เรากู้หรือไม่ โดยอาศัยข้อมูลและประวัติทางการเงินจากเครดิตบูโร

สำหรับรายงานข้อมูลเครดิตจะแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขอสินเชื่อทุกประเภท ประกอบไปด้วยข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ของผู้ขอสินเชื่อ และคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน รวมถึงรายละเอียดประวัติการยื่นขอสินเชื่อ การได้รับอนุมัติสินเชื่อ และประวัติการชำระสินเชื่อประเภทต่างๆ ของบุคคลนั้น ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้จะมีสรุปสถานะบัญชี ซึ่งหากเราเป็นลูกหนี้ที่จ่ายครบถ้วน จ่ายตรงตามเงื่อนไขมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน รายงานข้อมูลเครดิตจะเป็นสถานะบัญชี “ปกติ”

ทั้งนี้เครดิตบูโรจะเก็บข้อมูลของเราตั้งแต่มีการส่งข้อมูลเข้ามาจากสถาบันการเงิน ซึ่งถ้าเป็นข้อมูลบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลจะเก็บข้อมูลไว้ไม่เกิน 3 ปี ส่วนสินเชื่อประเภทอื่นจะเก็บข้อมูลไว้ไม่เกิน 5 ปี

เมื่อเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของเครดิตบูโรแล้วลองมาดูกันว่า เราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรให้เป็นลูกหนี้ที่มีประวัติดี และทำอย่างไรจึงจะห่างไกลการติดแบล็คลิสต

  1. รักษาสถานภาพความเป็นลูกหนี้ที่ดี : การเป็นลูกหนี้ที่ดีวัดได้จากประวัติการผ่อนชำระที่ตรงตามกำหนดระยะเวลา และมีสินเชื่อเท่าที่จำเป็น ซึ่งส่งผลดีด้านความสามารถในการชำระหนี้และการพิจารณาขอสินเชื่อใหม่ในอนาคต
  2. อย่างน้อยที่สุดควรชำระหนี้ทุกใบด้วยวงเงินขั้นต่ำ : ไม่ว่าจะเป็นกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือหนี้บัตรเครดิต ควรชำระตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับทางสถาบันการเงิน การค้างชำระหรือจ่ายล่าช้าจะถูกคิดค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยเพิ่มเติม ทำให้มีประวัติการค้างชำระปรากฏในรายงานข้อมูลเครดิต
  3. เจรจาเมื่อมีปัญหาในการชำระหนี้ : หากลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามกำหนดต้องเจรจาขอผ่อนผันหรือขอยืดระยะเวลาการชำระเพื่อจะได้ไม่มีประวัติการค้างชำระ อย่างไรก็ตามถ้าผิดนัดชำระหนี้ไม่เกิน 30 วัน สถาบันการเงินจะยังไม่มีการขึ้นบัญชีหนี้เสีย
  4. ตรวจสอบข้อมูลเครดิตเป็นประจำ : เราสามารถเช็คข้อมูลเครดิตได้หลายช่องทาง ทั้งศูนย์ตรวจเครดิตบูโร การตรวจสอบข้อมูลที่ธนาคารโดยยื่นคำขอผ่านเคาน์เตอร์ ตู้ ATM และช่องทาง Mobile Banking หรือ Internet Banking ซึ่งควรจะตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตัวเราเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเช็คว่าถูกต้องหรือไม่
คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ใช้บัตรเครดิต

·                    ดำรงสัดส่วนหนี้อย่างเหมาะสม ไม่ควรมีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนสูงเกินไป จนทำให้รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายหลักในการดำรงชีพไม่เพียงพอสำหรับชำระหนี้ขั้นต่ำในแต่ละงวด

·                    ควรมีบัตรเครดิตในจำนวนน้อย หรือเท่าที่พอเพียงต่อความจำเป็น และควรปิดบัญชีบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้แล้ว เพราะโดยปกติสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อจะดูขีดความสามารถในการจับจ่ายว่า เราสามารถในการชำระหนี้ได้ขนาดไหน หากมีจำนวนบัตรเครดิตมากแนวโน้มการก่อหนี้ก็จะมีมากขึ้น

·                    หากไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนดระยะเวลา หรือพบว่าข้อมูลในใบแจ้งหนี้มีความคลาดเคลื่อน ควรรีบติดต่อผู้ออกบัตรทันที และดำเนินการร้องเรียนหรือแก้ไขข้อมูลโดยยื่นคำขอแบบเป็นลายลักษณ์อักษร

สำหรับผู้ที่เคยผิดนัดชะระหนี้ แต่ต้องการกลับมาผ่อนชำระใหม่อีกครั้ง ควรพยายามชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประวัติในการเป็นลูกหนี้ที่ดี ส่วนผู้ที่ติดบัญชีดำหรือติดเครดิตบูโรหากมีความประสงค์จะขอสินเชื่อใหม่ เช่น กู้ซื้อบ้าน ต้องแก้ไขประวัติทางการเงินด้วยวิธีปรับโครงสร้างหนี้ หรือขอเจราเปลี่ยนรูปแบบของสินเชื่อเป็นการเช่าซื้อแทนการกู้ซื้อบ้านไปก่อน เมื่อดำเนินการผ่อนชำระในระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงขอยื่นกู้ใหม่ตามขั้นตอนปกติ

กรณีที่เป็นหนี้เสียหรือติดเครดิตบูโรโดยไม่ได้ตั้งใจ อาจจะเพราะไม่เคยตรวจสอบข้อมูลเครดิตมาก่อน รู้อีกทีก็เป็นตอนที่จะไปขอสินเชื่อกับธนาคารแต่กลับถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าข้อมูลในเครดิตบูโรไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด เราสามารถขอตรวจสอบข้อมูลหรือความผิดพลาดได้เพื่อหาสาเหตุ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบข้อมูลเครดิต ซึ่งต้องนำเอกสารการปฏิเสธสินเชื่อไปยื่นภายใน 30 วัน นับจากวันที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งปฏิเสธ สามารถไปยื่นด้วยตัวเองที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือจะส่งเอกสารทางไปรษณีย์ก็ได้

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลเครดิตสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ www.ncb.co.th หรือโทรสอบถามที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร.1213

Back to Rethink

About the author

Thanachart CSR

Related posts
<font color='orange'>Rethink: </font> 4 เคล็ดลับ เลือกกู้สินเชื่อบ้าน
May 30, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> เมื่อคิดอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง
May 23, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> เงินกู้ในยามฉุกเฉิน
May 19, 2016
Rethink: ผ่อนหนี้บ้านให้หมดไว…สบายใจกว่า
February 15, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> เมื่อถึงคราวต้องเข้าจำนำ
January 11, 2016
<font color='orange'>Rethink: </font> ยื่นกู้อย่างไรให้ผ่านฉลุย
January 4, 2016

© 2558 สงวนลิขสิทธิ์ โดย ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)