การรีไฟแนนซ์แม้ว่าจะเป็นการกู้หนี้ใหม่มาชำระหนี้เก่า หรือมองอีกมุมหนึ่งก็เหมือนเป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาหนี้ที่ดีที่สุด แต่การรีไฟแนนซ์ก็ยังมีข้อดีตรงที่จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้ต่ำลง
เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ให้สินเชื่อรายใหม่จะเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า หรือมีเงื่อนไขที่ดีกว่าเพื่อเป็นการจูงใจให้เราเลือกไถ่ถอนหนี้จากผู้ให้สินเชื่อรายเดิม เช่น ค่างวดในการผ่อนชำระลดลง ซึ่งน่าจะเป็นตัวช่วยในเรื่องการลดภาระค่าใช้จ่ายของเรา
อย่างไรก็ตามเมื่อเราได้รีไฟแนนซ์สินเชื่อไปแล้วก็ควรจะปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะหากยังคงปฏิบัติตัวเหมือนเดิมเราก็คงไม่สามารถหลุดพ้นจากวงจรลูกหนี้ได้อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะทำให้ปัญหาหนี้สินลุกลามมากขึ้น
ทั้งนี้ก่อนที่เราจะตัดสินใจรีไฟแนนซ์ควรจะต้องพิจารณาถึง “ความคุ้มค่า” โดยการเปรียบเทียบระหว่าง “ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้” และ “ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์” ชั่งน้ำหนักว่าอะไรที่จะช่วยให้เราประหยัดได้มากกว่ากัน
โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์จะประกอบด้วย
- ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน
- ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าอากร
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาเงินกู้กับผู้ให้สินเชื่อรายใหม่
- ค่าปรับที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าหนี้เดิม กรณีที่ยุติการกู้ก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำประกัน เช่น ค่าประกันอัคคีภัย ค่าประกันสินเชื่อ (MRTA) ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินก็จะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป
ส่วนการพิจารณาดอกเบี้ยที่ประหยัดได้สามารถคำนวณได้ดังนี้
เงินต้น x (อัตราดอกเบี้ยเดิม – อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่รีไฟแนนซ์) x จำนวนปีที่ดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเดิม
|
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามียอดสินเชื่อกับสถาบันการเงินเดิมคงเหลือเท่ากับ 1,000,000 บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 7% ต่อปี หากรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 3.5% เป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากนั้นจะเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว
จะได้ว่า 1,000,000 x (7% – 3.5%) x 3 = 105,000 บาท
ดังนั้นดอกเบี้ยที่เราจะประหยัดได้จะอยู่ที่ประมาณ 105,000 บาท ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรีไฟแนนซ์ ถ้าค่าใช้จ่ายสูงกว่าดอกเบี้ยที่เราประหยัดได้หรือดอกเบี้ยที่ลดลงจากหนี้เดิมก็ไม่ควรจะรีไฟแนนซ์ แต่ถ้าดอกเบี้ยที่ประหยัดได้มีจำนวนมากกว่าค่าใช้จ่ายก็ถือว่าสามารถรีไฟแนนซ์ได้
แนะนำว่าทางที่ดีควรจะเลือกรีไฟแนนซ์เมื่อสินเชื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามเงื่อนไขจนสามารถไถ่ถอนสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งจะทำให้เราไม่ต้องเสียค่าปรับหากมีการไถ่ถอนก่อนกำหนด เช่น ถ้าผ่อนชำระไม่ครบตามจำนวนปีที่กำหนดจะต้องจ่ายค่าปรับ 3% จากยอดเงินต้นคงค้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตามแต่ละสถาบันการเงินจะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้แตกต่างกัน เราจึงต้องพิจารณาเงื่อนไขในการไถ่ถอนอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจทำรีไฟแนนซ์
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือ การทำรีไฟแนนซ์จะต้องดำเนินการก่อนที่จะกลายเป็นหนี้เสีย เนื่องจากการทำรีไฟแนนซ์เปรียบเสมือนการขอสินเชื่อใหม่ ซึ่งสถาบันการเงินจะพิจารณาการให้สินเชื่อด้วยการตรวจสอบประวัติการผ่อนชำระที่ผ่านมาของเราเหมือนกับสินเชื่อทั่วไป
ส่วนการเตรียมเอกสารสำหรับการรีไฟแนนซ์ประกอบการยื่นขออนุมัติจากสถาบันการเงินจะต้องเตรียมทั้งเอกสารประจำตัวของผู้ขอสินเชื่อ เอกสารแสดงประวัติทางการเงิน และเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดของหลักทรัพย์็ะอยู่ที่ประมาณ บี้ย ก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา
หาหนี้สินลุกลามมากขึ้นกว่าเดิมด้วย